วิธีอ่านค่าเวอร์เนียร์และวิธีเก็บรักษา

Last updated: 13 ธ.ค. 2565  |  214825 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประเภทของเวอร์เนียร์ จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ

1.แบบธรรมดา
2.แบบไดอัล
3.แบบดิจิตอล

ประเภทของเวอร์เนียร์ แบบธรรมดา ประกอบด้วยอะไรบ้าง

Vernier Caliper

Nomenclature Vernier Caliper (Mitutoyo)

 

วิธีการอ่านค่าเวอร์เนียร์ แบบธรรมดา

แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ Graduation 0.02 mm และ 0.05 mm 

จากรูปตัวอย่างจะแสดงสัญลักษณ์ให้เห็นว่า (1) และ (2)

(1) คือ สเกลหลักเวอร์เนียร์ที่เราอ่านค่าแบบหยาบ 16 mm ตรงกับเส้น 0 ของสเกลรองมากที่สุด

(2) คือ สเกลรองเวอร์เนียร์ที่เราอ่านค่านั้นจะต้องดูเส้นที่ตรงกับสเกลหลักมากที่สุด โดยนับทีขีดละ 5 จะได้ 15 นั้นก็เท่ากับ 0.15 mm Reading = 16.15 mm

 

ประเภทของเวอร์เนียร์ แบบไดอัล ประกอบด้วยอะไรบ้าง

Dial_Caliper_Series_505__Mitutoyo

 

วิธีการอ่านค่าเวอร์เนียร์ แบบไดอัล แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ Graduation 0.01 mm และ 0.02 mm 

Dial_caliper

จากรูปตัวอย่างจะแสดงสัญลักษณ์ให้เห็นว่า (1) และ (2)

(1) คือ สเกลหลักเวอร์เนียร์ที่เราอ่านค่าแบบหยาบ 16 mm ตรงกับเส้นของปากวัดมากที่สุด

(2) คือ สเกลรองเวอร์เนียร์ที่เราอ่านค่านั้นจะต้องดูเข็มที่ตรงกับสเกลหน้าปัดมากที่สุด โดยนับทีละ 1 ขีดจะได้ 13 ขีดนั้นก็เท่ากับ 0.13 mm Reading = 16.13 mm

 

ประเภทของเวอร์เนียร์ แบบดิจิตอล ประกอบด้วยอะไรบ้าง

Absolute Digimatic Caliper

Nomenclature_Absolute_Digimatic_Caliper__Mitutoyo

วิธีการอ่านค่าเวอร์เนียร์ แบบดิจิตอล แบ่งออกได้  คือ Resolution 0.01 mm

ABSOLUTE_Coolant_Proof_Caliper Mitutoyo

จากรูปตัวอย่างจะแสดงสัญลักษณ์ให้เห็นว่า

(1) คือ สเกลหลักเวอร์เนียร์แบบดิจิตอลที่เราอ่านค่านั้นจะแสดงตัวเลขที่หน้าจอและง่ายต่อการอ่านค่ามากที่สุด

(2) จะมีปุ่มกดตรงหน้าจอ เวอร์เนียร์ Origin, ON/OFF, Zero/ABS  แต่ละปุ่มก็จะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน

(3) Origin คือ Set ค่าเริ่มต้นการใช้งานที่ถูกต้องเที่ยงตรงและคงที่ควรกดทุกครั้งก่อนใช้งาน

(4) ON/OFF คือ เปิด/ปิด เครื่อง

(5) Zero/ABS คือ Set 0 เพื่อต้องการวัดงานแบบขั้นบันได หรือแบบ Step แล้วหาผลรวมทั้งหมดสุดท้าย

 

วิธีการเก็บรักษาเวอร์เนียร์

สิ่งต่างๆเหล่านี้ควรระลึกไว้เสมอในการเก็บรักษาเครื่องมือทุกครั้ง

- หลังการใช้ ควรเช็ดฝุ่นและคราบน้ำมันที่มาจากนิ้วมือให้สะอาดด้วยผ้านุ่มและแห้ง

- ไม่วางเครื่องมือไว้ในที่แสงแดดส่องถึงโดยตรง


- เก็บเครื่องมือในสถานที่ที่มีความชื้นต่ำและอากาศถ่ายเทได้ดี

- เก็บเครื่องมือไว้ในที่ที่ปราศจากฝุ่นละออง

- ควรเก็บเครื่องมือฯ ไว้ในกล่องหรือซองพลาสติกทุกครั้งหลังจากทำความสะอาดเสร็จเพื่อป้องกัน ฝุ่นละอองและความชื้น

- เมื่อจะต้องเก็บเครื่องมือเป็นเวลานานๆ ควรชโลมน้ำมันเพื่อป้องกันการเกิดสนิม

- หลังจากทำความสะอาดทุกขั้นตอนแล้วก็เสร็จสมบูรณ์

 

เวอร์เนียร์มีรูปแบบและลักษณะแบบไหนบ้าง

1. ประเภทของเวอร์เนียร์ ธรรมดา ไดอัล ดิจิตอล

Vernier Caliper 

คือเวอร์เนียร์ธรรมดาที่มีความละเอียดอยู่ที่ 0.02 mm และ 0.05mm เหมาะกับการใช้งานทั่วไปที่ไม่ได้ควบคุมความละเอียดมากเท่าไหร่เนื่องด้วย Scale ในการอ่านค่าก็จะไม่ละเอียดเท่าไหร่และจะอ่านค่าเวอร์เนียร์อยากนิดหน่อยจะต้องเป็นคนที่มีพื้นฐานในการใช้อยู่บ้างพอสมควรถึงจะเข้าใจหลักการอ่านค่าของเวอร์เนยร์ และที่สำคัญราคาไม่แพง

Vernier_Caliper_530_Series_Standard_model Mitutoyo

 

Dial Caliper

คือเวอร์เนียร์แบบหน้าปัดนาฬิกาที่มีความละเอียดอยู่ที่ 0.01 mm และ 0.02mm เหมาะกับการใช้งานทั่วไปที่ต้องการควบคุมค่ามีความละเอียดของชิ้นงานเนื่องด้วยมีหน้าปัดแสดงตัวเลขที่อ่านค่าได้ง่ายและถูกต้องแม่นยำกว่าเวอร์เนียร์แบบธรรมดา


Digimatic Caliper

คือเวอร์เนียร์แบบดิจิตอลที่มีความละเอียดอยู่ที่ 0.01 mm  เหมาะกับการใช้งานทั่วไปและงานที่ต้องการควบคุมความละเอียดของชิ้นงานเนื่องด้วยเวอร์เนียร์แบบดิจิตอลจะใช้งานง่ายและมีความแม่นยำดีกว่าเพาระหน้าจอจะแสดงตัวเลขที่อ่านค่าได้รวดเร็วต่อการใช้งานคนที่ไม่มีพื้นฐานการใช้เครื่องมือวัดมาเลยก็ใช้งานง่ายไม่ยุ้งอยากแค่แนะนำวิธีการใช้งานนิดหน่อยก็ใช้ได้เลย

 

2. มีปากวัดแบบไหนบ้าง ชิ้นงานแบบไหนถึงจะใช้ปากวัดให้เหมาะกับชิ้นงานที่จะวัด

Vernier Caliper Standard

เวอร์เนียร์แบบปากวัดธรรมดาเหมาะกับการวัดงานทั่วไปที่เป็นด้าน outside เป็นหลักชิ้นงานก็เป็นโลหะทั่วไปไม่แข็งมาก แต่ถ้าต้องวัดงานที่เป็นโลหะที่แข็งก็แนะนำใช้เป็นปากวัดแบบ Carbide เพื่อจะได้เหมาะสมกับชิ้นงานและยึดอายุการใช้งานของเวอร์เนียร์ได้ด้วย

 

Standard Jaws Inside and outside

เวอร์เนียร์แบบปากวัดที่มีสองด้านในตัวเหมาะกับการวัดงานที่เป็นรูปทรงกระบอกหรือเป็นรูด้านในที่ต้องการวัด Inside เป็นหลักชิ้นงานก็เป็นโลหะทั่วไปไม่แข็งมาก แต่ถ้าต้องวัดงานที่เป็นโลหะที่แข็งก็แนะนำใช้เป็นปากวัดแบบ Carbide เพื่อจะได้เหมาะสมกับชิ้นงานและยึดอายุการใช้งานของเวอร์เนียร์ได้ด้วยส่วน outside นั้นก็สามารถวัดงานได้ทั่วไป

 

Low-Force Caliper

เวอร์เนียร์ปากวัดแบบ Low-Force เวอร์เนียร์ประเภทนี้ใช้วัดชิ้นงานที่ต้องการแรงกดต่ำๆ เช่นพลาสติก ยาง โฟร์ม หรือชิ้นงานที่มีความยืดยุ่นต่ำ

 

Offset Caliper

 Offset_Caliper

เวอร์เนียร์แบบปากวัดที่สามารถปรับระดับสูงต่ำได้เหมาะกับการวัดงานที่เป็นขั้นบันไดรูปทรงสีเหลี่ยมในด้าน outside เป็นหลักชิ้นงานก็เป็นโลหะทั่วไปไม่แข็งมาก

 

Offset Centerline Caliper

Offset_Centerline_Caliper

เวอร์เนียร์แบบปากวัดเซนเตอร์ที่สามารถปรับระดับสูงต่ำได้เหมาะกับการวัดหาเซนเตอร์หรือจุดศูนย์กลางของชิ้นงานที่เป็นรูๆและเป็นแบบขั้นบันไดในด้าน outside เป็นหลักชิ้นงานก็เป็นโลหะทั่วไปไม่แข็งมาก

 

Point Caliper

 Point_Caliper

เวอร์เนียร์แบบปลายแคบที่ใช้วัดดงานที่มีพื้นที่แคบและมุมในการวัดน้อยพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ

 

Neck Caliper

Neck_Caliper

เวอร์เนียร์แบบปลายแฉกที่สมารถวัดความหนาของผนังภายในรูและร่องได้ใช้วัดดงานที่มีพื้นที่แคบและมุมในการวัดน้อยตามความเหมาะสมกับงานที่ใช้

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้