เครื่องวัดความแข็งยางและพลาสติก Durometer

Last updated: 13 ธ.ค. 2565  |  14973 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เครื่องวัดความแข็งยางและพลาสติก Durometer

ณ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ยางหรือพลาสติกถูกนำไปใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญใน อุตสาหกรรมยานยนตร์ อุตสาหกรรมอิเล็กโทรนิค อุปกรณ์แพทย์และยา  การวัดความแข็งของยางและพลาสติกเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุณภาพชิ้นงานหรือแจงคุณสมบัติเชิงกลของยาง และหนึ่งในสเกลที่นิยมก็คือ Durometer (Shore Scale)

Durometer หรือที่เรียกกันว่า Shore Scale มีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับว่ากำลังวัดชิ้นงานที่มีคุณสมบัติความแข็งชนิดใด (Fig.1)สเกลแต่ละชนิดจะมีรูปทรงหัวกด (Intender) แรงสปริงที่ถูกตั้งค่ามาและขนาดของแป้นกดที่แตกต่างกันส่วนมากที่นิยมกันจะเป็น Shore A ที่ใช้สำหรับยางทั่วไปหรือพลาสติกที่นิ่ม และ Shore D สำหรับยางหรือพลาสติกที่มีความแข็ง หลักการทำงานของ Durometer คือ หลังจากที่ชิ้นงานกับฐานของ Durometer แนบกัน แรงกด (Pressure Load) ที่เกิดขึ้นจากคนหรือ Stand และ แรงต้านทาน (Repulsive Force) จากชิ้นงานจะทำให้ความยาวของสปริงเปลี่ยนไป (Fig.2, L0คือระยะก่อนกด L1คือระยะหลังกด) ความแตกต่างระว่าง L1กับ L0 เป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำมาคำนวณค่า Durometerที่แสดงขึ้นเป็นตัวเลข

แนะนำการใช้ Durometer

  1. ในกรณีที่วัดด้วยมือ ให้ประคอง Durometerแล้วกด Durometer ไปที่ชิ้นงานให้ฐานชอง Durometer เรียบไปกับชิ้นงาน หลังจากนั้นให้อ่านค่า
  2. ในกรณีที่ใช้ Durometerกับ Stand แนะนำว่าควรกำหนดความเร็วให้ไม่เกิน 3.2mm/sec และStandควรจะมีตุ้มนำหนักวางอยู่ด้านบน ( Type A,E = 1kgf, Type D = 5kgf)
  3. จุดตรวจสอบความแข็งควรที่จะห่างจากขอบชิ้นงานมากกว่า 12 mm และความหนาของชิ้นงานต้องมากกว่า 6 mm.
  4. สภาพแวดล้อมในการวัด : อุณภูมิ 23°C±2, ความชิ้น 50±5%
  5. ช่วงวัดของ Durometer อยู่ในช่วง 20-90 เท่านั้น หากวัดชิ้นงานได้ต่ำกว่า 10 หรือ เกิน90 ควรที่จะเปลี่ยนสเกลของ Duromter ยกตัวอย่างเช่น หากใช้ Durometer Type Dวัดค่า 10 ให้เปลี่ยนไปใช้ Type A หากใช้ Durometer Type A วัดค่าได้ 90 ให้เปลี่ยนไปใช้ Type D

 

การตรวจสอบและการเก็บรักษา Durometer

  • ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ Durometer โดนน้ำหรือน้ำมัน
  • โปรดรักษาหัวกด (Intender) ไม่เกิดการกระแทกหรือตกลง หากเกิดแรงกระแทกที่หัวกดอาจจะทำให้สปริงข้างในเสียหาย ส่งผลให้ค่าที่วัดผิด
  • เข็ม (Pointer) ควนที่จะอยู่ที่ 0 หากไม่มีการวัดใดๆ
  • ตรวจสอบหัวกดโดยการใช้ Microscope เพื่อตรวจสอบว่าหัวกดยังอยู่ในค่า Tolerance ที่ถูกต้องหรือไม่
  • ตรวจสอบแรงปริงโดยใช้เครื่องตรวจสอบ DurometerGS-607 (Durometer Tester) วาง Durometer เข้าไปในเครื่องตรวจสอบ เครื่องตรวจสอบจะมีน้ำหนักมาตรฐานให้ 3 ก้อน ให้ใส่น้ำหนักไปที่ละก้อน หลังจากใส่ก้อนที่ 1 เข็มควรที่จะไปที่ Checkpoint ที่ 1 ค่า 25, ก้อนที่ 2 เข็มไปที่ 50 และก้อนที่ 3อยู่ที่ 75 เข็มลงตรง Check point ทั้ง3จุด (±1) แสดงว่า แรงสปริงยังใช้ได้ หากเข็มหยุดไม่ตรงจุดหมายความว่าสปริงเสื่อมควรที่จะซื้อ Durometer ตัวใหม่

อุปกรณ์วัดความแข็งของยางและพลาสติก Durometerเป็นเครื่องที่ผลิตที่ประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัท Teclock ผู้นำด้านวัดความแข็งยางในประเทศญี่ปุ่น หากทางลูกค้าต้องการที่จะสอบถามราคาสินค้าหรือสอบถามข้อมูลด้านเทคนิคเพิ่มเติม หรือหากต้องการทดลองวัดชิ้นงานทางบริษัทสามารถทำการทดลอง (DEMO) สินค้าให้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

สามารถติดต่อมาที่ฝ่ายขาย/เทคนิคได้ที่ เบอร์ 02-621-7950 หรือที่อีเมล jetco@jet.co.th 

หากสนใจสินค้าหรือต้องการทดสอบชิ้นงานสามารถติดต่อมาที่ฝ่ายขาย/เทคนิคได้โดยตรงที่
คุณธีรชาญ อีเมล theerachan@jet.co.th หรือโทร 06-1401-6799
คุณอัครพล  อีเมล akaraphol@jet.co.th หรือโทร 06-1401-6797

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้