วิธีใช้งานและอ่านค่าไมโครมิเตอร์และวิธีเก็บรักษา

Last updated: 13 Dec 2022  |  40453 Views  | 

ประเภทของไมโครมิเตอร์ จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ

1. แบบธรรมดา
2. แบบดิจิตอล

ประเภทของไมโครมิเตอร์ แบบธรรมดา ประกอบด้วยอะไรบ้าง



วิธีการอ่านค่าไมโครมิเตอร์ แบบธรรมดา แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ Graduation 0.01 mm และ 0.001 mm

วิธีการอ่านมาตราส่วนมาตฐาน  Graduation 0.01

(1) Sleeve scale 7 mm

(2) Thimble scale + 0 .37 mm

ค่าที่อ่านได้จากไมโครมิเตอร์  7.37 mm

หมายเหตุ 0.37 mm. (2) ถูกอ่านที่ตำแหน่งที่ปลอกเส้นสเกลอยู่ในแนวเส้นเดียวกันกับระดับของปลอกมือจับมาตราส่วนปลอกสามารถอ่านได้โดยตรงถึง 0.1mm ดังที่แสดงไว้ด้านบน

 

วิธีการอ่านมาตราส่วนมาตฐานเวอร์เนียสเกล  Graduation 0.001

How_to_Read_the_Scale

(1) Sleeve scale 6 mm

(2) Thimble scale +0.21 mm

(3) Reading from the vernier scale marking

and thimble graduation line + .003 mm 

ค่าที่อ่านได้จากไมโครมิเตอร์  6.213 mm

หมายเหตุ 0.21 mm (2) ถูกอ่านที่ตำแหน่งที่เส้นสเกลอยู่ระหว่างสองเส้น ( 21 และ 22 ) กรณีนี้ให้เลือกสเกลใกล้เส้นมากที่สุด (3) 0.003 mm ถูกอ่านที่ตำแหน่งเวอร์เนียสเกลด้านบนจะสอดคล้องตรงกับเส้นปลอกมือจับเส้นใดเส้นหนึ่งมากที่สุด

 

ประเภทของไมโครมิเตอร์ แบบดจิตอล ประกอบด้วยอะไรบ้าง

 

วิธีการอ่านค่าไมโครมิเตอร์ แบบดิจิตอล แบ่งออกได้  คือ Resolution 0.001 mm

Digital_micrometer_293_240_30

จากรูปตัวอย่างจะแสดงสัญลักษณ์ให้เห็นว่า        

(1) คือ สเกลหลักไมโครมิเตอร์แบบดิจิตอลที่เราอ่านค่านั้นจะแสดงตัวเลขที่หน้าจอและง่ายต่อการอ่านค่ามากที่สุด

(2) จะมีปุ่มกดตรงหน้าจอ ไมโครมิเตอร์ Origin, Zero/ABS, Hold  แต่ละปุ่มก็จะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน

(3) Origin คือ Set ค่าเริ่มต้นการใช้งานที่ถูกต้องเที่ยงตรงและคงที่ควรกดทุกครั้งก่อนใช้งาน

(4) Zero/ABS คือ Set 0 เพื่อต้องการวัดงานแบบขั้นบันได หรือแบบ Step แล้วหาผลรวมทั้งหมดสุดท้าย

(5) เครื่องมือรุ่นนี้จะไม่มีปุ่ม เปิด/ปิด เครื่อง เพราะเครืองมือจะปิดเอง อัตโนมัติ หลังจาการใช้งานภายใน 25-30 นาที

 

วิธีการเก็บรักษาไมโครมิเตอร์

- สิ่งต่างๆเหล่านี้ควรระลึกไว้เสมอในการเก็บรักษาเครื่องมือทุกครั้ง

- หลังการใช้ ควรเช็ดฝุ่นและคราบน้ำมันที่มาจากนิ้วมือให้สะอาดด้วยผ้านุ่มและแห้ง


 

 

 

 

 

 

-ไม่วางเครื่องมือไว้ในที่แสงแดดส่องถึงโดยตรง

-เก็บเครื่องมือในสถานที่ที่มีความชื้นต่ำและอากาศถ่ายเทได้ดี

-เก็บเครื่องมือไว้ในที่ที่ปราศจากฝุ่นละออง

-ควรเก็บเครื่องมือไว้ในกล่องหรือซองพลาสติกทุกครั้งหลังจากทำความสะอาดเสร็จเพื่อป้องกัน ฝุ่นละอองและความชื้น

 

-เมื่อจะต้องเก็บเครื่องมือเป็นเวลานานๆ ควรชโลมน้ำมันเพื่อป้องกันการเกิดสนิม

-หลังจากทำความสะอาดทุกขั้นตอนแล้วก็เสร็จสมบูรณ์

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy